ข้อมูลสภาพทั่วไป

newoffice1


ที่ตั้ง :
ตำบลขุนศรี ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอำเภอไทรน้อย ห่างจากตัวอำเภอไทรน้อยประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 22 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 13,750 ไร่

อาณาเขต :

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลคลองขวาง ,ทวีวัฒนา , ราษฎร์นิยม และเทศบาลตำบลไทรน้อย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นดินเหนียว พื้นที่ทั้งหมด 13,750 ไร่ และมีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมาณ 10,801 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 77.29 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นที่พักอาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม

การปกครอง :
มีจำนวนหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน ดังนี้

ผู้นำฝ่ายการปกครอง
 

 1. บ้านคลองพระพิมล  นายสุรสีห์ ศรีอินทร์สุทธิ์  กำนันตำบลขุนศรี
 2. บ้านคลองโต๊ะนุ้ย  นางสาวศิรินทร์ทิพย์ บุญเพ็ชร  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2
 3. บ้านคลองขุนศรี  นายมานะ  มัณยานนท์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3
 4. บ้านคลองหม่อมแช่ม  นายสมยศ สาดี  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4
 5. บ้านคลองพระพิมลราชา  นายสมเกียรติ ศรีสุวรรณ  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5
 6. บ้านวัดยอดพระพิมล  นายชาญวิทย์ นรจีน  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6
 7. บ้านปากคลองเจ้า  นายบุญเลิศ บุญมี  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
 8. บ้านคลองสิบศอก  นายบุญฤทธิ์ ผลสะอาด  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8

 

ผู้นำฝ่ายการเมือง
 

 1. บ้านคลองพระพิมล  นายนฤทธิ์ สุขใจ
 นายสุเทพ จันทร์ชูช่วย
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 1
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 1
 2. บ้านคลองโต๊ะนุ้ย  นายธรรมนูญ วงค์ประเสริฐ
 นายสมศักดิ์ พรหมมา
 รองประธานสภา อบต.ขุนศรี
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 2
 3. บ้านคลองขุนศรี  นายไพรวัลย์ มัณยานนท์
 นายสมหมาย ผุดผ่อง
 ประธานสภา อบต.ขุนศรี
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 3
 4. บ้านคลองหม่อมแช่ม  นายสายันต์ แตกเงิน
 นายบุญสืบ ดอนสนธิ์
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 4
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 4
 5. บ้านคลองพระพิมลราชา  นายเชิดชาย บรมทองชุ่ม
 นายธีระวัฒน์ รัศมี
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 5
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 5
 6. บ้านวัดยอดพระพิมล  นายบัญชา ผลตาล
 นายชัยณรงค์ นรจีน
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 6
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 6
 7. บ้านปากคลองเจ้า  นายบุญเลิศ บุญมี
 นายพิเชษฐ โพธิ์ชู
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 7
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 7
 8. บ้านคลองสิบศอก  นายสุริยา นรวรรณ
 นายประเสริฐ จีนเอม
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 8
 สมาชิกสภา อบต.ขุนศรี หมู่ที่ 8

 

จำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากร องค์การบริหารส่วนตำบลขุนศรี :
- จำนวนครัวเรือน รวมทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 1,564 ครัวเรือน
- จำนวนประชากร รวมทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 5,046 คน แยกเป็น ชาย 2,436 คน หญิง 2,610 คน

 จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน
 
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือน
จำนวนประชากร
ชาย
หญิง
รวม
1
 บ้านคลองพระพิมล
169
286
294
580
2
 บ้านคลองโต๊ะนุ้ย
362
468
517
985
3
 บ้านคลองขุนศรี
208
266
310
576
4
 บ้านคลองหม่อมแช่ม
161
236
238
474
5
 บ้านคลองพระพิมลราชา
163
319
317
636
6
 บ้านวัดยอดพระพิมล
153
233
260
493
7
 บ้านปากคลองเจ้า
196
359
370
729
8
 บ้านคลองสิบศอก
152
269
304
573
 
รวมทั้งสิ้น 
1,564
2,436
2,610
5,046

ข้อมูล : งานนโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลขุนศรี
อ้างอิงมาจาก :
สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน แยกพื้นที่ระดับตำบล ณ เดือน กันยายน 2561


ทิศทางการพัฒนาตำบลขุนศรี
ตำบลขุนศรี ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านสังคม การเมือง เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การกำหนดทิศทางการพัฒนาตำบลจำเป็นต้องคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ เพราะการพัฒนาที่ผ่านมาได้ส่งผลถึงความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกทำลายลงไปจำนวนมากและมีปัญหาสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ ตำบลขุนศรี จึงได้ทำการประเมินโอกาสและศักยภาพการพัฒนารวมทั้งอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาตำบลในระยะเวลา 3 ปี ข้างหน้าให้ชัดเจน สรุปผลการประเมินได้ ดังนี้

1. โอกาสและศักยภาพการพัฒนา
  1.1 โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ของตำบลขุนศรี เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีคลองจำนวน 8 คลองกระจายครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบล จึงเหมาะแก่การปลูกข้าวและสวนผักผลไม้ รวมทั้ง การเลี้ยงปลาเลี้ยงสัตว์
  1.2 ตำบลขุนศรีอยู่ห่างจากอำเภอไทรน้อยประมาณ 5 กิโลเมตร การคมนาคมค่อนข้างสะดวก สภาพแวดล้อมยังมีสภาพดีอยู่มาก และราคาที่ดินมีราคาไม่แพง จึงมีแนวโน้มที่ประชาชนจะเข้ามาอยู่อาศัยกันมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการขึ้นมารองรับอีกเป็นจำนวนมาก
  1.3 ชุมชนและสังคมยังมีสภาพเป็นชนบทอยู่มาก ประกอบด้วยการมีวัฒนธรรมและ ประเพณีอันดีงามที่สืบสานต่อกันมา เช่น ประเพณีชาวมอญ สังคมจึงรวมตัวเป็น ปึกแผ่นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสูง

2. ปัญหาและข้อจำกัดการพัฒนา
ปัญหาและข้อกำจัดของพัฒนาตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
  2.1 ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านสังคมส่วนใหญ่ คือ
    2.1.1 สังคมเมือง ขาดความร่วมมือในการพัฒนา และ กิจกรรม
    2.2.2 ด้านแรงงาน แรงงานมีการศึกษาต่ำ ขาดแคลนที่อยู่อาศัย และขาดแคลนงาน ด้านอุตสาหกรรม
  2.2 ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการพัฒนาขึ้นทุก ๆ ปี แต่ลำคลองยังมีวัชพืชปกคลุมเป็น ระยะ ๆ เนื่องจาก ผักตบชวาไหลมาทางแม่น้ำท่าจีน
  2.3 ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    2.3.1 ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ คลองต่าง ๆ มีสภาพตื้นเขิน และมีผักตบชวาและวัชพืชขึ้นในลำคลอง
    2.3.2 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ การปล่อยน้ำเสียลงคูคลอง
  2.4 ปัญหาการขยายตัวของหมู่บ้าน เนื่องจากยังไม่มีการทำการวางผังเมืองให้ถูกต้องตามหลักวิชาการขยายเมืองของแต่ละหมู่บ้าน จึงเห็นว่าเป็นไปอย่างไร้ทิศทางซึ่งอาจจะมีปัญหาการใช้ พื้นที่ไม่เหมาะสมและอาจเกิดความขัดแย้งในชุมชน สังคมในอนาคต

3. วิสัยทัศน์การพัฒนา
จากการประเมินศักยภาพ โอกาส ปัญหาและข้อกำจัดดังกล่าวข้างต้น จึงได้กำหนดทิศทาง การพัฒนาตำบลขุนศรี ในระยะยาวเป็นวิสัยทัศน์ ดังนี้ “ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมประเพณีวัฒนธรรม คุณภาพคู่คุณธรรม นำการเมือง เศรษฐกิจรุ่งเรือง ประชาชนร่วมใจ”

4. วัตถุประสงค์
  4.1 เพื่อให้ประชาชนตำบลขุนศรีมีคุณภาพชีวิตที่มีรายได้อยู่ในระดับมาตรฐาน
  4.2 เพื่อให้การบริหารประชาชนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
  4.3 เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
  4.4 เพื่อการกำหนดและวางแผนผังโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจสาธารณูปโภคและการ วางผังด้านโครงสร้างตำบล / หมู่บ้าน

5. กลยุทธ์การพัฒนา
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น จึงกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาตำบลขุนศรี ดังนี้
  5.1 การพัฒนาด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต
  5.2 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  5.3 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  5.4 การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน / สังคม / ความปลอดภัยและการรักษาความสงบเรียบร้อย
  5.5 การพัฒนาด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม การท่องเที่ยว เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
  5.6 การพัฒนาด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น


สภาพเศรษฐกิจ
1 การประกอบอาชีพ
  1.1 อาชีพเพาะปลูก พืชที่ปลูกมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ ข้าว ไม้ผล ผักต่าง ๆ
  1.2 อาชีพเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เลี้ยง เป็ด ไก่ ห่าน ปลาน้ำจืดต่าง ๆ
  1.3 อาชีพด้านอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดกลาง ขนาดเล็ก ประมาณ 20 โรง

logo-parallex.webp